ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส จ.สุราษฎร์ธานี
ข้อมูลทั่วไป
 
ข้อมูลทั่วไป วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ ตราสัญลักษณ์
  • องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส จังหวัดสุราษฎร์ธานี


    1. ที่ตั้ง กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส ตั้งอยู่ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

    2. ประวัติความเป็นมาของตำบลพลายวาส สมัยกรุงรัตนโกสินทร์สมัยนั้นพุทธศาสนาอยู่ในยุคเจริญรุ่งเรือง มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ใน ตำบลกะแดะ มีวัดอยู่แห่งหนึ่งมีชื่อว่า “วัดราม” มีพระสงฆ์รูปหนึ่งชื่อพระอาภรณ์ จำพรรษาในวัดนี้และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนั้น อยู่มาวันหนึ่งชาวบ้านได้นำลูกช้างมาถวายแก่พระอาภรณ์ จำนวน 1 เชือก เป็นช้างเพศผู้ พระอาภรณ์ตั้งชื่อให้ว่า “วาส” พระอาภรณ์รักและเอ็นดูลูกช้างเชือกนี้มาก โดยให้ข้าวก้นบาตรกินในทุก ๆ วันจนช้างเชือกนี้โตและเชื่องมากเป็นที่รักใคร่เอ็นดูของชาวบ้านแถบนั้น ชื่อเสียงของช้างเชือกนี้ร่ำลือไปทั่วตำบลและตำบลใกล้เคียง ต่อมานายอำเภอเห็นว่าตำบลกะแดะมีพื้นที่ อาณาเขตกว้าง การที่จะปกครองหรือดูแลทุกข์สุขของประชาชนไม่สะดวกเท่าที่ควรจึงแบ่งแยกเขต ตำบลกะแดะออก โดยถือเอาเขตหัวสะพานข้ามคลองกะแดะตรงฝั่งวัดพ่วงเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง ตำบลกะแดะและตำบลใหม่ที่แยกมาโดยได้ตั้งชื่อตำบลใหม่ใช้ชื่อของช้างที่พระอาภรณ์ตั้งไว้ คือ “ตำบลพลายวาส” ซึ่งแปลว่าช้างที่มีบุญวาสนาและเรียกตำบลพลายวาสตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

    ภาพ 1 แผนที่ตำบลพลายวาส

     

    คำขวัญตำบลพลายวาส

    “แหล่งผลิตนักศึกษา วาสนาช้างพลาย มากมายหอยกุ้งปลา แหล่งรักษาผู้คน”

    3. พื้นที่รับผิดชอบ

    องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 6 .. 2552 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท โดยเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีพื้นที่เท่ากับตำบลแต่ละตำบล จัดตั้งมาจากสภาตำบลที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดและ มีราษฎรไม่น้อยกว่า 2,000 คน โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อดูแลทุกข์สุขและให้บริการประชาชนในตำบลแทนรัฐบาลกลาง มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และหน้าที่อื่น ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีงบประมาณและพนักงาน เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลเอง

    องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 เดิมตั้งอยู่ ณ ศาลาประชาธิปไตย หมู่ที่ 9 บ้านหนองเปล ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้ย้ายที่ทำการใหม่ มาอยู่ที่ เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84160 จนถึงปัจจุบัน

    องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส มีพื้นที่รับผิดชอบในเขต ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประมาณ 92 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 57,500 ไร่ รับผิดชอบ 9 หมู่บ้าน

    4. อาณาเขต

    ทิศเหนือ จด อ่าวบ้านดอนและตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์
    ทิศใต้ จด ตำบลกรูด อำเภอกาญจนดิษฐ์
    ทิศตะวันออก จด ตำบลท่าทองและตำบลท่าอุแท อำเภอกาญจนดิษฐ์
    ทิศตะวันตก จด เทศบาลตำบลกาญจนดิษฐ์ อำเภอกาญจนดิษฐ์

    5. ลักษณะทางภูมิศาสตร์

    5.1 ภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มมีน้ำท่วมขังเป็นประจำในช่วงฤดูฝน และมีบางพื้นที่ของตำบลติดกับชายทะเลได้แก่ พื้นที่หมู่ที่ 6 บ้านปากกะแดะ และหมู่ที่ 3 บ้านในราม

    5.2 ภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทย และมรสุมตะวันออกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดีย จึงมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Tropial monsoon climate) และมีฤดูฝนยาวนาน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม และฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน ซึ่งอากาศจะร้อนจัดระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,700-1,800 ../ปี และอุณหภูมิเฉลี่ย 32.2 องศาเซลเซียส

    6. การปกครอง

    6.1 การปกครองส่วนท้องถิ่น มีองค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง ครอบคลุม 9 หมู่บ้าน สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 79 หมู่ที่ 1 บ้านดอนกาย ตำบลพลายวาส อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84160 มีจำนวนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 17 คน

    6.2 การปกครองของตำบลพลายวาส

    หมู่ที่ 1 บ้านดอนกาย

    หมู่ที่ 2 บ้านท่าเสาเภา

    หมู่ที่ 3 บ้านในราม

    หมู่ที่ 4 บ้านนาเหนือ

    หมู่ที่ 5 บ้านพ่วง

    หมู่ที่ 6 บ้านปากกะแดะ

    หมู่ที่ 7 บ้านเขาไม้แดง

    หมู่ที่ 8 บ้านกลางนา

    หมู่ที่ 9 บ้านหนองเปล


    7. ทรัพยากรธรรมชาติ/แหล่งท่องเที่ยว

    เนื่องจากตำบลพลายวาสเป็นตำบลที่ติดกับทะเลอ่าวไทยทำให้มีทรัพยากรทางทะเลจำนวนมากและมีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การศึกษาและอนุรักษ์


    8. โครงสร้างพื้นฐาน

    8.1 การคมนาคมมีถนนสายหลักอยู่ 3 สายคือ

    8.1.1 ถนนลาดยางสุราษฎร์ธานี – นครศรีธรรมราช ระยะทาง 110 กิโลเมตร

    8.2.1 ถนนลาดยางกาญจนดิษฐ์ – บ้านพอด ระยะทาง 25 กิโลเมตร

    8.2.3 ถนนลาดยางเซาท์เทิร์น สุราษฎร์ธานี – กระบี่ ระยะทาง 179 กิโลเมตร

    8.2 การสื่อสารมีตู้โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน จำนวน 9 หมู่บ้าน และเครือข่ายบริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 ระบบ และการสื่อสารอื่น ๆ ทั้งวิทยุและโทรทัศน์

    8.3 การไฟฟ้า การให้บริการไฟฟ้าสามารถให้บริการครบทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครอบคลุม 100 % ทุกหลังคาเรือน

    8.4 การประปา ใช้ทั้งระบบประปาภูมิภาค ประปาหมู่บ้าน และบ่อน้ำตื้น

    9. เศรษฐกิจ

    เศรษฐกิจของตำบลพลายวาสขึ้นกับการเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 75 รองลงมาคือรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.5 และค้าขาย ร้อยละ 5.5 อื่น ๆ (รับราชการ ธุรกิจส่วนตัว) ร้อยละ 7.5

    หน่วยธุรกิจที่สำคัญ

    -ปั๊มน้ำมันขนาดกลาง 2 แห่ง
    -ปั๊มนำมันขนาดเล็ก 4 แห่ง
    -โรงงานอุตสาหกรรม 23 แห่ง
    -ร้านขายของชำ 45 แห่ง
    -ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง 14 แห่ง
    -ฟาร์มเลี้ยงไก่ 6 แห่ง
    -ฟาร์มเลี้ยงหมู 8 แห่ง

    10. สังคม

    10.1 การศึกษา

    ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส มีสถาบันการศึกษา 2562 ดังนี้

    โรงเรียน ที่ตั้ง ระดับ

    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส

    หมู่ที่ 6 ตำบลพลายวาส

    ปฐมวัย

    โรงเรียนบ้านท่าเสาเภา

    หมู่ที่ 2 ตำบลพลายวาส

    ประถมศึกษา

    โรงเรียนวัดพ่วง

    หมู่ที่ 5 ตำบลพลายวาส

    ประถมศึกษา

    โรงเรียนบ้านปากกะแดะ

    หมู่ที่ 6 ตำบลพลายวาส

    ประถมศึกษา

    โรงเรียนบ้านหนองเปล

    หมู่ที่ 9 ตำบลพลายวาส

    ประถมศึกษา

    วิทยาลัยเทคนิคกาญจนดิษฐ์

    หมู่ที่ 7 ตำบลพลายวาส

    มัธยมศึกษา

    กศน.ตำบลพลายวาส

    หมู่ที่ 1 ตำบลพลายวาส

    โรงเรียนขยายโอกาส


    10.2 ศาสนา

    มีวัดจำนวน 4 แห่ง คือ วัดในราม วัดพ่วง วัดอุทัยชนาราม และสำนักสงฆ์สายเพ็ญ มีมัสยิดจำนวน 1 แห่ง คือ มัสยิดอัลฮาดี มีโบสถ์คริส 1 แห่ง คือ โบสถ์คริตจักรความหวังใหม่

    ประชาชนนับถือศาสนาต่างๆ ดังนี้ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 97 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3

    10.3 ประชากร

    ตำบลพลายวาส มีประชากรในเขตรับผิดชอบทั้งสิ้น 7,143 คน แยกเป็น ชาย 3,574 คน หญิง 3,569 คน จำนวนหลังคาเรือน 2,031 หลังคาเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2561)

    10.4 สาธารณสุข

    ข้อมูลทรัพยากรสาธารณสุข

    สถานบริการสาธารณสุข

    1) สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

    - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง

    - โรงพยาบาลชุมชนขนาด 90 เตียง จำนวน 1 แห่ง

    2) สถานบริการสาธารณสุขของเอกชน

    - คลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวน 2 แห่ง

    หน้า 1 2 3
  • วิสัยทัศน์

    วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส (พ.ศ. 2561 – 2564)

    “องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพ ดูแลสุขภาพของคนทุกวัย สิ่งแวดล้อมสดใส โครงสร้างพื้นฐานทั่วถึง ส่งเสริมการศึกษา พัฒนาอาชีพด้วยระบบกลุ่ม ส่งเสริมภูมิปัญญาและวัฒนธรรมประเพณี มีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ด้วยความมุ่งมั่นของคณะผู้บริหารและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน”

    เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือวิสัยทัศน์ที่วางไว้ จึงได้กำหนดกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส ในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาระดับต่าง ๆ เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้ดำเนินการออกจัดเวทีประชาคมเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการจัดทำแผนชุมชน แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และแผนพัฒนาสามปี ในทุกหมู่บ้าน
  • พันธกิจในการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส

    1. พัฒนาแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอและทั่วถึง
    2. พัฒนาด้านการสาธารณสุขให้ได้มาตรฐาน ครอบคลุมแก่คนทุกวัย
    3. พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานและมีความเชื่อมโยงอย่างทั่วถึง
    4. พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขและมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
    5. พัฒนาด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงสภาพที่สมบูรณ์และปลอดมลพิษอย่างยั่งยืน
    6. พัฒนาเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการประกอบอาชีพตามแนวทาง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”
    7. ส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
    8.ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายประจำให้มีโอกาสได้รับการศึกษา ในระดับที่สูงขึ้น และได้รับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ อย่างทั่วถึง
    9. ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในทุกระดับอย่างต่อเนื่องภายใต้ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ตามภารกิจ
    10. พัฒนาการเมืองและการบริหารให้มีประสิทธิภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

  • ยุทธศาสตร์

    องค์การบริหารส่วนตำบลพลายวาส ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน ได้มีความตระหนักถึงบทบาทภารกิจตามอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ตอบสนองต่อความต้องการ เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตำบลพลายวาส อีกทั้งเน้นหลักการบริหารจัดการที่ดี จึงได้ดำเนินตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนา 6 ยุทธศาสตร์ 23 แนวทางประกอบด้วย

    1. ยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
    แนวทางที่ 1. พัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งให้ได้มาตรฐานและเชื่อมโยง
    แนวทางที่ 2. พัฒนาด้านการสาธารณูปโภค
    แนวทางที่ 3. พัฒนาการจัดระบบผังเมือง

    2. ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ
    แนวทางที่ ๑. ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง
    แนวทางที่ 2. ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาภาคการเกษตร
    แนวทางที่ ๓. ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
    แนวทางที่ ๔. พัฒนาและส่งเสริมอาชีพ การลงทุน การพาณิชยกรรม

    3. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิต
    แนวทางที่ 1. ส่งเสริมและพัฒนาการศึกษา
    แนวทางที่ 2. ส่งเสริมและพัฒนาการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
    แนวทางที่ 3. สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้แก่เยาวชนให้มีคุณธรรมจริยธรรม เอื้ออาทรต่อผู้อื่น
    แนวทางที่ 4 การส่งเสริมการกีฬาและนันทนาการ
    แนวทางที่ 5 ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยและสังคมสงเคราะห์
    แนวทางที่ 6 การจัดระเบียบชุมชนและสังคม

    4. ยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว
    แนวทางที่ ๑. พัฒนา ปรับปรุง แหล่งท่องเที่ยว
    แนวทางที่ 2. ส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมด้านท่องเที่ยว
    แนวทางที่ ๓. พัฒนายกระดับมาตรฐานการบริการ และความปลอดภัย

    5. ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    แนวทางที่ ๑. ส่งเสริมบำบัดฟื้นฟูและสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์
    ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    แนวทางที่ 2. พัฒนาสภาพแวดล้อมของชุมชน
    แนวทางที่ ๓. การส่งเสริม การศึกษา วิจัยเชิงปฏิบัติการด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม

    6. ยุทธศาสตร์ด้านบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
    แนวทางที่ ๑. พัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
    แนวทางที่ 2. พัฒนาโครงสร้างองค์กรให้ทันสมัย
    แนวทางที่ ๓. พัฒนาบุคคลการให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ
    แนวทางที่ 4. พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กร